เมื่อหมอกสลาย...การบินไทย
ปัญหาการขาดทุนอย่างมหาศาล และก้อนหนี้กว่า 240,000
ล้านบาทของการบินไทย เปรียบเสมือน เครื่องบินน้ำหนัก
240 ตัน
ที่คนกลุ่มหนึ่งเกินที่จะแบกรับไว้
และจะร้องขอให้คนทั้งประเทศไปช่วยแบกภาระนี้ร่วมกันโดยให้ประเทศค้ำประกันเงินกู้ให้
โดยอ้างความเป็นสมบัติของชาติ ที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษา แต่ประชาชนมากกว่าครึ่งไม่คิดเช่นนั้น เมื่อก่อนเวลาที่ การบินไทย
มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเรื่องเงินหรือพูดง่ายคือต้องการใช้เงินแต่ไม่มีเงินหรือเงินไม่พอ
ซึ่งผู้บริหารการบินไทยก็แค่ทำแผนการใช้เงินโน่น นี่ นั้น
และนำเสนอรัฐบาลเพื่ออนุมัติแผนและหลังจากนั้นรัฐบาลก็อนุมัติแผน
และได้เงินก้อนโตมาใช้ในการบริหารเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเงินได้มาอย่างง่ายๆ ก็บริหารก็แบบง่ายๆ และไม่มีประสิทธิภาพ
จนผลประกอบการนับวัน สาระวันเตี้ยลงเละเทะ จนกลายเป็นเละตุ้มเปะ
ไม่หลงเหลือความน่าภาคภูมิใจที่ทำไว้ในอดีดไว้เลย
แต่อย่างว่า ก็ต้องมองอย่างเป็นกลางครับ ว่าปัญหาที่หมักหมม
ความมืดมนที่ซ่อนอยู่ ต่อให้ไปเชิญใครหน้าใหนในโลก
ต่อให้คนที่เข้ามาเพื่อเป็นแม่ทัพ จะเก่งกาจและวิเศษวิโส มาจากไหน
ก็ไม่มีทางที่จะมีใครหน้าไหน ที่จะทำให้เรือนาวา
แห่งนี้หลุดจากวังวนและรอดพ้นการชนกับหินโสโครกไปได้เลย เพราะตราบใดที่ความมืดทะมืนปกคลุมอยู่
ต่อให้แม่ทัพเป็นใครก็เตรียมตัวแพ้ได้เลย …. แต่นั้นมันเมื่อก่อน !
แต่หลังจากนี้ไม่ง่ายอีกต่อไป ! เมื่อต้องเข้าสู่ศาลล้มละลายกลาง
เพื่อเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ และไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ
ไม่มีรัฐบาลต้องคอยหนุนหลังแล้ว โดยต้องบริหารงานแบบเอกชนแบบ 100
%
และต้องทำแผนฟื้นฟูกิจการ
เพื่อนำเสนอแผนต่อเจ้าหนี้และถ้าเจ้าหนี้เห็นชอบก็จะต้องยื่นศาลล้มละลายกลางเพื่อขออนุมัติแผน
และบริหารจัดการการเพื่อให้เป็นตามแผนที่ผ่านการอนุมัติ
โดยการบริหารจัดการการแผนนั้นจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดของทั้งเจ้าหนี้และศาลล้มละลายกลาง
แต่หลังจากนี้จะมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาสู่ที่แห่งนี้ ที่ซึ่งถูกปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกอันหนาทึบ
ที่ไม่สามารถมองเห็นอะไรเลย
แล้ววันเวลานั้นมาถึงแล้ว
วันนี้…เริ่มวันดี…เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของวันที่ การบินไทย… ไร้เมฆหมอก
และการกระบวนการต่อจากนี้สิ
จะเป็นเรื่องน่าสนใจมาก เพราะ
มันเป็นจุดเริ่มต้นของการการก่อเกิดใหม่ของบริษัทเอกชนแห่งนี้ เริ่มต้นในรูปแบบของการการฟื้นฟู
ในทางปฎิบัติ จะมีขั้นต้อนที่อธิบายง่ายๆดังนี้
1. กระทรวงการคลังจะทำการขายหุ้นออกไปให้สัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า
50%
จากปัจจุบันที่ถืออยู่ 51.03 % เพื่อจะให้ การบินไทย หลุดจากการเป็น
รัฐวิสาหกิจไทย
ซึ่งจะทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสภาพโดยอัตโนมัติ ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปี 2543 เรื่องนี้ผู้ที่มาทำแผนฟื้นฟูต้องการ แต่
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไม่ต้องการ
2. กระทรวงคมนาคมยื่นคำร้องต่อสารล้มละลายกลางของไทยพร้อมหาผู้ที่จะมาจัดทำแผนฟื้ฟูกิจการ
แล้วหลังจากนั้นก็จะนำคำร้องเดียวกันไปยื่นต่อศาลล้มละลายกลางของสหรัฐอเมริกา
( Chapter 11 )
ดีแล้วที่ไม่ไช่ Chapter 7
ในเรื่องนี้ได้กลุ่มคนบางกลุ่มจำพวกนักวิชาเกินอวดโชว์โง่
แสดงความฉลาดน้อย
ออกมาแย้งว่าไทยมีอิสระภาพทางกฏหมายและศาล
ไม่มีความจำเป็นต้องยื่นศาลล้มละลายกลางของสหรัฐอเมริกาที่
ผมอยากจะพวกเหล่านั้นให้รู้สำนึกและเลิกบิดเบียนที่จะทำให้เกิดการเข้าใจผิดในหมู่ประชาชนคนไทย
และจะได้ตระหนักว่า แม้ว่าเราจะมีอิสระภาพทางกฏหมายและศาล จริง
แต่มีอิทธิพลเฉพาะในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
ส่วนนอกประเทศไทย เราไม่ได้มีอิทธิพลเลย
เพราะประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเล็กๆ และไม้ได้มีอิทธิพลมากมายในเวทีโลก
ดังนั้นเราจะต้องอาศัยอิทธิพลศาลของประเทศที่มีอิทธิพลต่อศาลทั่วโลก
ซึ่งเราก็เลือกศาลล้มละลายกลางของสหรัฐอเมริกา ครับ
ถามว่าทำไมต้องยื่นศาลนอกประเทศ ต้องขอบอกก่อนว่า
เมิ่อเมื่อมีการยื่นศาลล้มละลาย เพื่อขอทำแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว
การบินไทยก็ยังสามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้
แต่การบริหารจัดการจะอยู่ต้องถูกควบคลุมกำกับดูแลของเจ้าหนี้และศาลล้มละลาย
โดยที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะไม่สามารถตามทวงหนี้ได้
สรุปยื่นศาลไทยเจ้าหนี้ที่อยู่ในไทยทวงหนี้ไม่ได้
แต่เจ้าหนี้ที่อยู่นอกประเทศไทยสามารถที่จะทวงหนี้ได้ครับ
ถ้าไม่ยื่นศาลต่างประเทศ
อาจจะเกิดเหตุการเมื่อเครื่องบินของการบินไทยเมื่อบินออกนอกประเทศไทย
อาจจะถูกยึดเครื่องบินได้
หรืออาจจะเกิดเหตุการณ์เจ้าหนี้นอกประเทศทำการกดดันจนทำให้
บริษัทผลิตอะไหล่ไม่ส่งชิ้นส่วนอะไหล่มาให้ได้เพราะเจ้าหนี้นอกประเทศกดดันจนทำให้การดำเนินกิจการของการบินไทยมีปัญหาได้ และปัญหาอีกมากมายครับ
3. ผู้จัดทำแผนเสนอแผนต่อเจ้าหนี้
ลูกหนี้ และถ้าเห็นชอบก็นำเสนอต่อศาลล้มละลาย ถ้าศาลเห็นชอบ ดำเนินตามแผนต่อไป
ต่อมา
เรามาดูแนวทางที่คาดว่าผู้จัดทำการแผนการพื้นฟูจะกำหนดขึ้นเพื่อนำเสนอต่อเจ้าหนี้ลูกหนี้และเสนอต่อศาลล้มละลายกันครับ
(ขอย้ำว่า คาดว่าน่ะครับ
เพราะบทความนี้จัดทำในช่วงเวลาที่ ครม. มีมติอนุมัติการยื่นให้ บริษัทการบินไทย
เข้าสู่ศาลล้มละลายกลาง เพื่อเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ
เท่านั้นครับโดยพิจารณาจากรายได้รายจ่ายและภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในงบดุลการเงิน ปี 2562 )
1. ปรับโครงสร้างองค์กร
โดยผ่าตัดใหญ่องค์กรนำผู้บริหารมืออาชีพที่มีการยอมรับทั้งในส่วนของเจ้าหนี้
ลูกหนี้ และพนักงาน เข้ามาบริหารแผน
โดยที่บุคคลเหล่านั้นจะสามารถมีอิสระในการทำงานจากรัฐบาล
และรัฐบาลต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่
2. ลดขนาดองค์กรลง
25-35 % ในส่วนของบุคลากรหรือพนักงาน
(ลดประมาณ 5,500
– 7,500 คน) จากปัจจุบัน พนังงาน 21,367
คน เพื่อให้เหมาะกับขนาดที่แท้จริง
![]() |
จำนวนพนักงานในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา |
![]() |
ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ |
3. ปรับสวัสดิการต่างๆบางส่วนของพนักงานลง
เช่นนโยบายการจ่ายภาษีแทนพนักงาน สวัสดิการการรักษาฟรีตลอดชีพ
4. ปรับชนิดหรือประเภทของเครื่องบินที่มากเกินไปให้เหลือ
4- 5 รุ่น เหมือนสายการบินอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายในซ่อมบำรุง และการเช่าเครื่องบินในการบินทดแทน
เพราะปัจจุบันการบินไทยมีเครื่องรุ่นที่แตกต่างกันกว่า 14 รุ่น ซึ่งแต่ล่ะรุ่นก็ใช้อะไหล่ที่แตกต่างกันและบางรุ่นก็มีปัญหาการผลิตอะไหล่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เกิดความล่าช้าในการสั่งของ
![]() |
รุ่นของเครื่องบินของการบินไทย |
5. ปรับเปลี่ยนเส้นทางการปิน ให้เหลือเฉพาะเส้นทางการบินที่มีกำไร
และจัดหาเส้นทางการบินใหม่ตามความต้องการของตลาด
6. ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านราคาที่จะทำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด
โดยเฉพาะตลาดสายการบินต้นทุนต่ำ
7. ปรับเปลี่ยนวิธีการจำหน่ายตั๋วให้ทันสมัย
ยกเลิกขายตั๋วผ่านระบบตัวแทนซึ่งล้าสมัย และได้กำไรน้อย
ทำให้สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้จำนวนมาก ให้ใช้ระบบขายผ่านแอพพิเคชั่น แทน
8. ปรับเปลี่ยนวิธีจัดซื้อจัดจ้างใหม่ให้สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนเพื่อลดการทุจริตเชิงนโยบาย
9. แยกธุรกิจไปจัดตั้ง บริษัทออกไปและบริหารเองเพื่อความคล่องตัวย
เช่น การบริการภาคพื้น ส่วนซ่อมบำรุง คลังสินค้า
10. ขายหรือแยกบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก
( Non-Core) เช่น ครัวการบิน
![]() |
บริษัทย่อยและร่วม |
![]() |
ผลการดำเนินงานบริษัทย่อยและร่วม |
ถ้าทำใด้ทั้งหมดนี้จะทำให้บริษัทการการบินไทยกลับมาผงาดได้อย่างแข่งแกร่งในทุกๆด้านอย่างแน่นอน “ แล้วเราคนไทยจะรอน่ะ ยุคใหม่การบินไทย ยุค การบินไทย…เมื่อหมอกสลาย “
0 ความคิดเห็น