ทันทีที่มีข่าว บริษัทเจอเนอรัล มอเตอร์ ประกาศยุติการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย
และทำการประกาศข่าวการขายโรงงานทั้งสองแห่งคือ
โรงงานประกอบ ( General Motors Thailand )และโรงงานผลิตเครื่องยนต์( General Motors Powertrain Thailand )
ที่ นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด (ESIE) จังหวัดระยอง
ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของจีน ชื่อ บริษัท
เกรต วอลล์ มอเตอร์ ( Great Wall Motor )
จากประเทศจีน
ให้เข้ามาเปิดตลาดในไทย
ทุกสายตาก็พามองกันด้วยความอยากรู้ว่า ค่ายรถยนต์ เกรต วอลล์ มอเตอร์ หรือ GWM คือใคร
ทำไมจึงหาญกล้าเข้ามาลุยในธุรกิจรถยนต์ในประเทศไทย
ที่เป็นสมรภูมิการแข่งขันของค่ายรถยนต์ที่ดุเดือดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
และที่มีเจ้าถิ่นอย่างค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นครองตลาดอยู่
และเข้ามาด้วยเป้าหมายอะไรกันแน่ ?
ซึ่งปัจจุบันนี้ ทาง GWM ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของจีน
แต่ถ้ามองเฉพาะในส่วน รถปิคอัพ รถ
อเนกประสงค์หรือรถ SUV (Sport Utility
Vehicle ) แล้วจะพบว่าทาง GWM ถือเป็นผู้ผลิตอันดับ
1 ของประเทศจีน
เหตุการณ์เมื่อปี 2556 ผู้จัดการฝ่ายส่งออกของ บริษัท
เกรต วอลล์ มอเตอร์ ( Great Wall Motor ) ได้ให้
สัมภาษณ์
ในงานมอเตอร์โชว์ที่ประเทศไทยตอนหนึ่งว่า
ทาง GWM กำลังศึกษาแผนที่จะเข้ามาทำธุรกิจผลิตรถยนต์ในประเทศไทย
โดยเบื้องต้นมีแผนที่จะทำการสร้างโรงานผลิตรถยนต์ที่มีความสามารถในการผลิตให้ได้
อยู่ในช่วง
100,000 – 150,000 คันต่อปี
โดยมองพื้นที่ไว้สองแห่งคือจังหวัดระยองหรือจังหวัดนครราชสีมา
หลังจากวันนั้นจนถึงวันนี้ผ่านมา
7 ปีทาง GWM ก็ได้เข้ามาซื้อโรงงานของทาง
GM ( เจนเนอรัล มอเตอร์ )
ทั้งโรงงานประกอบ (
General Motors Thailand )
และโรงงานผลิตเครื่องยนต์(
General Motors Powertrain Thailand ) ที่ นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด
ซึ่งตลอดทั้ง 1-2 ปีนี้ก็จะอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายและการวางเครื่องจักรใหม่
ซึ่งคาดว่าจะสามารถมาทำการทดลองผลิตได้น่าจะเป็นช่วงกลางปี 2565 เป็นต้นไป
ซึ่งก่อนหน้านี้การดำเนินธุรกิจของ
GWM ในรูปแบบการเข้าไปซื้อฐานการผลิตแล้วจำนวน
11ครั้ง โดย 9
ครั้งเป็นการซื้อฐานการผลิตภายในประเทศจีนและนอกประเทศจีน
3 ครั้ง
คือ 1. เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ซื้อฐานการผลิตที่เมืองทูลา
ประเทศรัสเซีย
และ 2. ในเดือน มกราคม 2563 ทาง GWM ได้ซื้อฐานการผลิตของ
GM ( เจนเนอรัล มอเตอร์ )
ที่เมืองเทเลกอน ประเทศอินเดีย
และ 3. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทาง GWM ก็ได้เข้าซื้อฐานการผลิตของ GM ( เจนเนอรัล มอเตอร์ )
ที่นิคมอุตสาหกรรม
อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ประเทศไทย
และนอกจากนี้ทาง GWM ก็มีการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ที่ประเทศอื่นๆ
อีก
4 ประเทศคือ เอกวาดอร์ ตูนีเซีย บัลแกเรีย และมาเลเซีย
แล้วอะไรที่ทำให้ทาง GWM ถึงต้องมีการเข้ามาซื้อโรงงานในภูมิภาคนี้
ถ้ามองในตลาดในส่วนของประเทศจีนจะพบว่าการเติบโตในส่วน รถปิคอัพ รถอเนกประสงค์หรือรถ
SUV
แล้วจะพบว่า มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในลักษณะชะลอตัว
ในปี 2019
ดังนั้นค่ายรถยนต์ GWM ที่ถือเป็นผู้ผลิตอันดับ 1
ของประเทศจีนในส่วน รถปิคอัพ รถอเนกประสงค์
หรือรถ SUV (Sport
Utility Vehicle )
จึงต้องหาตลาดใหม่เพิ่ม ซึ่งเอเชียใต้หรืออาเซียนและเอเชียโอเชียเนีย
ก็คือตลาดที่ทาง GWM (เกรต
วอลล์ มอเตอร์)กำลังมองด้วยความสนใจ
รวมไปถึงตลาดในประเทศอินเดีย และแอฟริกาด้วย
และถ้ามองในมุมมองของการเติบโต
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่เติบโตเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน
แต่ถ้ามองในมุมมองของทั้งกลุ่มพบว่าอาเซียนเป็นตลาดที่ทีการเติบโตเป็นอันดับ
6 ของโลก
และถ้าจะมองในมุมมองของรถยนต์ที่การขับพวงมาลัยขวา ( Driving On The Right )
จะพบว่าประเทศไทยและประเทศอินเดีย
เป็นประเทศที่มีตำแหน่งที่ดีมาก
โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางทั้งอาเซียน และเอเชียโอเชียเนีย
(ออสเตรเลีย
และนิวซีแลนด์ )
โดยปัจจุบันทางจีเอ็ม ( GM
)ก็ใช้โรงงานในไทยผลิต ไปจำหน่ายที่ทั้ง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ในนามแบรนด์ โฮลเดน แบรนด์เก่าแก่กว่า 100 ปี ของออสเตรเลีย บริษัทลูกของ GM (เจนเนอรัล มอเตอร์)
ซึ่งถ้าทาง จีเอ็ม ( GM
) เลิกการผลิตในไทยก็เปรียบเสมือนแบรนด์โฮลเดนก็ยกเลิกจำหน่ายไปโดยปริยาย
ดังนั้นก็เป็นโอกาสของ GWM (เกรต วอลล์ มอเตอร์) ส่วนอินเดียก็เป็นตลาดรถยนต์ที่การขับพวงมาลัยขวา
( Driving On The Right ) เช่นเดียวกัน
ผู้อ่านสามารถดูได้ในแผนที่ข้างบนโดยที่เป็นกลุ่มประเทศแถบสีน้ำเงิน
เป็นตลาดรถยนต์ที่ขับพวงมาลัยขวา
( Driving On The Right )
ส่วนแถบสีแดงเป็นกลุ่มประเทศใช้รถยนต์ที่ขับพวงมาลัยซ้าย
( Driving On The Left )
ที่ปัจจุบันอินเดียก็เป็นตลาดรถยนต์ที่มีการเติบโตสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก
และก็มีโอกาสในการส่งออกไปที่แถวแอฟริกาตอนใต้
ที่ก็เป็น
ตลาดรถยนต์ที่การขับพวงมาลัยขวา ( Driving On The Right ) เช่นเดียวกัน
ข้อได้เปรียบหนึ่งคือไม่ต้องเสียเวลาสร้างโรงงาน และยังได้แรงงานของบริษัท GM เดิม
ที่มีความรู้ความสามารถ โดยไม่ต้องเริ่มสร้างและเรียนรู้ใหม่หมด
และอีกข้อเปรียบหนึ่งของ GWM ผลิตรถยนต์ได้ในราคาที่ไม่แพงมาก ก็น่าจะทำการแข่งขันระอุ อย่างแน่นอน
แต่อีกปัจจัยหนี่งก็คือ ทาง GWM มองว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
(EV)
ในตลาดดังที่กล่าวมานี้ยังต้องมีการเติบโตอีกมาก
แต่ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าที่ค่ายอื่นขายก็มีราคาที่แพง
ซึ่งแตกต่างจากของ GWM
และคาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าของ GWM น่าจะมีออกมาให้ยลโฉมได้ไม่เกินปี
2565 -2566 อย่างแน่นอน
แถมจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ที่ “ ราคาจับต้องได้ “ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในความหวังของ GWM
|
0 ความคิดเห็น