![]() |
Kra Canal คลองไทยพลิกโลก |
![]() |
แม่นำ้กระบรี จังหวัดระนอง |
ที่มาของคลองกระ คอคอดกระ หรือ Kra Canal มาจากแม่น้ำกระบุรีที่เป็นพรมแดนธรรมชาตืที่แยกระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีความยาว 60 กิโลเมตร
ต้นน้ำมาจากเทือกเขาตระนาวศรี ไหลผ่านอำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดระหว่างทะเลอันดามันและทะเลอ่าวไทย
ซึ่งทำให้แนวคิดที่อยากจะขุดคลองจะต้องมองจุดที่แคบที่สุด ซึ่งก็เลยกลายมาเป็นคำว่าคลองกระ คอคลอดกระ หรือ ต่างชาติ รู้จักกันในชื่อ Kra Canal นั้่นเอง
แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ทำให้ สามารถที่จะขุดที่จุดใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแม่น้ำกระบุรี ดังงนั้น จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่าคลองไทยแทน
พูดถึงประเทศสิงคโปร์ที่ปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างมากกว่าประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน สาเหตุหนึ่งพบว่าเพราะประเทศนี้เป็นศูนย์กลางในการขนส่งทางเรือเดินสมุทร ที่มีปริมาณการจราจรทางเรือที่หนาแน่นที่สุดในโลกในแต่ละปีมีเรือผ่านจุดนี้ 1 ใน 5 โลก หรือประมาณ 80,000 - 100,000 ลำต่อปี
ซึ่งการที่มีเรือผ่านมากขนาดนี้ทำให้เกิดการบริการและเกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมากเช่น การเก็บค่าผ่านทาง อุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่น คลังน้ำมัน การบริการเติมน้ำมันเรือ อุตสาหกรรม ส่งออกน้ำมันและอื่นๆอีกมากมาย
สิ่งนี้ทำเป็นส่วนหลักที่ทำให้ประเทศสิงคโปร์มีรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล
ส่วนประเทศไทยถ้าดูตามลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว จะพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศ ในอาเซียนไม่เว้นแม้แต่สิงคโปร์ ที่จะสามารถแย่งชิงความมั่งคั่งเหล่านั้นมาได้
โดยการขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างทะเลอ่าวไทย กับทะเลอันดามัน แล้วอะไรคือสิ่งที่ยังไม่ทำให้เกิดขึ้นทั้งที่มีแนวคิดนี้มามากกว่า 350 ปีแล้ว เรามาดูกัน
![]() |
จะลดระยะทางได้ 700 km ลดเวลาได้ 3 วัน |
![]() |
จากการศึกษาพบว่ามีอยู่ 4 เส้นทางที่เป็นไปได้ |
![]() |
ขนาดของคลอง จะมีความกว้าง 400 เมตร ลึก 25 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนความยาวแล้วแต่จุด โดยมีการประมาณค่าใช้จ่ายในการขุดเบื้องต้นที่ 30,000 ล้านบาท |
เรื่องราวในอดีดเกี่ยวกับ
คลองกระ / คอคอดกระ
พ.ศ. 2220 ( ค.ศ.1677
) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
(ครองราช พ.ศ. 2172 - 2231) มีแนวความคิดที่จะขุดคลองกระ เพื่อเชื่อมทะเลด้านทิศตะวันออกและทะเลทางด้านตะวันตกของอาณาจักรสยาม
เพื่อประโยชน์ด้านการค้าทางการเดินเรือ
มีการส่งคณะวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอลามาร์
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบต่อเติมป้อมกำแพงเมืองลพบุรี ให้เพื่อป้องกันพม่าในสมัยนั้น
มาทำการสำรวจ แต่ไม่สามารถขุดได้เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่เพียงพอ
พ.ศ. 2336 ( ค.ศ.1793
) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระอนุชาธิราชเจ้า ของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเสนอให้ขุดอีกครั้งเพราะจะทำให้ทางกรุงเทพฯ
สามารถที่จะส่งทหารทางเรือไปช่วยรบกับพม่าได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
เพราะอาณาจักสยามครอบคลุมพื้นที่ตะวันตกแถบระนองทั้งหมด
พ.ศ. 2406 ( ค.ศ.1863
) อังกฤษได้เข้ามาปกครองพม่า
และบริษัทอีสอินเดียตะวันออกของอังกฤษ มีความสนใจที่จะขุด
แต่จากการศึกษาพบว่าความสำรวจเป็นไปได้ยากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ จึงล้มเลิก
พ.ศ. 2425 ( ค.ศ.1882
) นาย เฟอร์ดินานด์
เดอเลสเซ็ปส์ นักการทุตและวิศวกรชาวฝรั่งเศส ผู้ที่ควบคุมการขุดคลองสุเอซสำเร็จในปี
พ.ศ. 2412 ( ค.ศ.1869 )
เพื่อเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง เข้ามาขอทางสยามเพื่อสำรวจความเป็นไปได้เกี่ยวกับการขุดคลองในพื้นที่ดังกล่าว
แต่ทางสยามโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ( ร.5 )ไม่อนุญาติเพราะเกรงใจอังกฤษ และไม่ไว้ใจฝรั่งเศส เพราะช่วงนั้นทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส
ต่างก็เป็นมหาอำนาจและแข่งขันกันในการล่าอาณานิคม
พ.ศ. 2440 ( ค.ศ.1897
) ไทยและจักรวรรดิอังกฤษ
ทำข้อตกลงที่จะไม่สร้างคลอง เพื่อให้การปกครองน่านน้ำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้
อยู่ภายใต้อิทธิพลของท่าเรือสิงคโปร์ที่อังกฤษครอบครองอยู่
และกำหนดให้อังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในดินแดนไทย คือคนในความดูแลของอังกฤษทำผิดแต่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย
พ.ศ. 2484 ( ค.ศ.1941 ) เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ของไทยโดยย่อ
![]() |
โฆษณาชวนเชื่อของกองทัพญี่ปุ่นในไทย |
ฝ่ายอักษะแพ้สงคราม ญี่ปุ่นทำสัญญาสงบศึกกับอเมริกา ส่วนไทยอ้างว่าการประกาสสงครามเป็นโมฆะเพราะผู้แทนพระองค์คือนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนาม แต่กลับร่วมเป็นผู้นำเสรีไทย แต่การประกาศนี้มีเพียงสหรัฐ เท่านั้นที่ยอมรับ แต่จีน ฝรั่งเศส และจักรวรรดิอักฤษไม่ยอมรับ กลับให้ไทยทำสนธิสัญญาสันติภาพเพื่อสงบศึก
พ.ศ. 2489 ( ค.ศ.1946 ) ไทยและจักรวรรดิอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทางจักรวรรดิอังกฤษมองว่าไทยแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น จึงมีการทำสนธิสัญญาสันติภาพ จำนวน 24 ข้อกับไทย และมีอยู่ หนึ่งข้อที่กำหนดว่า "สยามจะไม่สร้างหรือขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามันโดยที่ไม่ผ่านการเห็นชอบโดยอังกฤษ"
พ.ศ. 2548 ( ค.ศ.2005
) มีรายงานลับของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริการถึงแผนการหยุดจีน
ในการที่จีนหวังที่จะใช้โครงการคลองกระเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงกับการขยายอิทธิพลของจีนที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการค้าขายในภูมิภาคนี้คือแนวคิดเส้นทางสายไหมยุคศตวรรษที่
21 (Belt and Road Initiative (BRI) )
พ.ศ. 2558 ( ค.ศ.2015
) สมาคมวัฒนธรรมไทยและเศรษฐกิจไทย
ได้ออกมาเรียกร้องความเป็นไปได้ของโครงการอีกครั้ง
เพื่อที่จะช่วยแก้ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำของประเทศ เพื่อให้ไยกลายเป็น
ศูนย์กลางทางการขนส่งและเศรษฐกิจโลก
พ.ศ. 2561 ( ค.ศ.2018
) นายกรัฐมนตรีของไทย
ประกาศว่ารัฐบาลของเขาไม่ไห้ความสำคัญกับโครงการคอคอดกระ
พ.ศ. 2563 ( ค.ศ.2020
) สภาผู้แทนราษฎรไทย เห็นชอบในการจัดตั้งคณะกรรมการในการศึกษา
จากเหตการณ์ที่เกิดขึ้นสรุปว่า
แม้ว่าการขุดคลองกระหรือคลองไทยเพื่อเชื่อมทะเลอันดามันและทะเลอ่าวไทย จะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นอย่างมหาศาล แต่การจะสร้างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจากข้อตกลงในสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกที่สยามหรือไทยได้ทำไว้ ว่าถ้าจะมีการขุดคลองเชื่อมต่อทั้งสองฝั่งทะเลดังกล่าว ต้องได้รับการยินยอมจากอังกฤษล่วงหน้า ซึ่งการที่อังกฤษจะยอมเป็นไปได้ยาก เพราะอังกฤษลงทุนในสิงคโปร์ไว้มหาศาล ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจการค้าและการควบคุมจุดยุทศาสตร์ทางทะเลในเรื่องของทหาร ที่ตอนนี้ทั้งอังกฤษและสหรัฐต่างมองว่าจีนคือภัยคุกคาม ความมั่นคงของทั้งสหรัฐ อังกฤษ และเครือจักรภพอังกฤษคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างมาเลเซีย บรูไนย ฟิลิปปินส์ ที่มีปัญหาในหมู่เกาะสแปรตลีย์ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในความเคลื่อนไหวในปัจจุบันนี้ พบว่ามีกองเรือรบของทั้งอังกฤษและสหรัฐเองประจำการณ์ในสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้ายอมให้ไทยขุด จะทำให้ยุทธศาสตร์ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างที่เรียกได้ว่าพลิกโลก และในส่วนของไทยเองก็ควรมีการพิจารณาเรื่องนี่อย่างระมัดระวัง ซึ่งถ้าไทยขุดโดยไม่สนใจสนธิสัญญาสงบศึกก็จะทำให้มองว่าสงครามกับไทยไม่จบก็เป็นไปได้ และอาจจะมีการตอบโต้จากทางอังกฤษ ในสนธิสัญญา อังกฤษ-สยาม ปี 2452 โดยอาจยกเลิกในหัวข้อว่า " อังกฤษรับรองอำนาจอธิปไตยของสยามเหนือปาตานี " ซึ่งมันจะทำให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมองว่าเกิดความชอบทำที่ปัตตานีซึ่งอยากจะแยกตัวออกไปอยู่แล้วก่อความวุ่นว่ายก็เป็นไปได้สูง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถพลิกจุดยุทธศาสตร์จริงๆ
0 ความคิดเห็น